ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง
นิยามและความสำคัญ
ก่อนการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในโลกที่ผ่านมานั้น สถาบันทางการเงินต่าง ๆ แทบทุกที่ มิได้ให้ความสำคัญและความใส่ใจต่อประเด็นด้านสภาพคล่องมากเท่าที่ควร และแทบมิได้ประเมินต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการขาดแคลนตัวเงินหรือสภาพคล่องเลย แต่ระหว่างที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจขึ้นนั้น สถาบันการเงินกลับต้องประสบปัญหาด้านการขาดแคลนสภาพคล่องที่หนักหน่วงอย่างยิ่ง ซึ่งส่งผลสืบเนื่องทำให้เกิดปัญหาและความสูญเสียที่รุนแรงต่อธนาคารต่าง ๆ และทำให้ธนาคารกลางจำเป็นต้องอัดฉีดสภาพคล่องเข้าไปยังระบบการเงินของประเทศ เพื่อป้องกันมิให้ปัญหาลุกลามบานปลายยิ่งกว่าที่เป็นอยู่
เมื่อวิกฤตเริ่มคลี่คลายลงนั้น โลกจึงเริ่มตระหนักถึงสิ่งสำคัญประการหนึ่ง นั่นคือ ธนาคาร และบริษัทด้านการเงินจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีมาตรการบริหารสภาพคล่องที่ดีกว่าที่เคยมีมา และแรงจูงใจด้านการเอาตัวรอดในระดับองค์กรมิใช่เหตุผลเดียวอีกต่อไป เนื่องจากผลกระทบและความเสียหายจากระบบการจัดการความเสี่ยงด้านสภาพคล่องที่ไร้ประสิทธิภาพสามารถกระจายไปยังระบบการเงินทั้งหมด และสร้างความเสียหาย และส่งผลกระทบเศรษฐกิจของโลกได้
องค์กรที่มีหน้าที่ในการกำกับดูแลสถาบันการเงินนั้น กำลังพยายามอย่างเต็มที่ที่จะรักษาบทบาทของตนในการป้องกันวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจและการเงินมิให้เกิดขึ้นซ้ำในอนาคต เช่น การบังคับใช้มาตรฐาน Basel III เป็นต้น ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่าภาระในการป้องกันปัญหาและความเสียหาย จึงตกอยู่ที่สถาบันการเงินแต่ละแห่ง ที่จะบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสภาพคล่องอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อประโยชน์ทั้งของตนเองและเศรษฐกิจโดยรวม
นิยามที่เกี่ยวกับสภาพคล่อง
สภาพคล่อง คือความสามารถของธนาคารในการที่จะตอบสนองต่อฐานะหนี้สินทางการเงินและสินทรัพย์ค้ำประกันของตนได้เมื่อจำเป็น โดยไม่ต้องสูญเสียหรือแบกรับความเสียหาย ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง คือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อธนาคารไม่สามารถตอบสนองต่อฐานะหนี้สินทางการเงินของตนได้ และเกิดความเสี่ยงอย่างรุนแรงต่อฐานะหรือแม้แต่ความอยู่รอดของธนาคาร ดังนั้น การบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง จึงหมายถึงกระบวนการและกลยุทธ์ที่ธนาคารนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้:
- เพื่อการประเมินความสามารถในการรักษาสถานภาพและเสถียรภาพด้านสถานะทางการเงิน ทั้งในแง่ของเงินสดและสินทรัพย์ค้ำประกัน และทั้งภายในสถานการณ์ปกติและสถานการณ์วิกฤติหรือเมื่อเผชิญกับปัญหา โดยไม่กระทบกับการดำเนินงานตามปกติหรือสถานะทางการเงินในภาพรวม
- เพื่อการลดและควบคุมความเสี่ยงดังกล่าว ด้วยการออกแบบกลยุทธ์และแผนต่าง ๆ และดำเนินการเพื่อให้มั่นใจว่า เงินทุนและสินทรัพย์ค้ำประกันนั้น จะมีอยู่พร้อมสำหรับเวลาที่เกิดความจำเป็นขึ้น
ข้อมูลเชิงลึกด้านความเสี่ยง
คุณสามารถรับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการบริหารจัดการความเสี่ยงเพิ่มเติมได้ที่นี่ ไม่ว่าจะเป็นบทความ งานวิจัย และหัวข้อประเด็นสำคัญต่าง ๆ
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง
อุปสรรคต่อการบริหารจัดการความเสี่ยงที่ประสบความสำเร็จ
- ไม่มีการพิจารณาด้านสภาพคล่องในภาพรวม - การไม่แบ่งปันข้อมูลระหว่างหน่วยย่อยและแผนกต่าง ๆ ภายในองค์กร หรือที่เรียกว่า silo นั้น ก่อให้เกิดการบั่นทอนขีดความสามารถในการพิจารณาและรับมือความเสี่ยงขององค์กรในภาพรวม รวมถึงเป็นอุปสรรคต่อการประเมินผลกระทบจากสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องต่ำและสินทรัพย์ที่กระจายอยู่ตามพื้นที่ หน่วยธุรกิจ และประเภทที่หลากหลาย
- ข้อจำกัดด้านศักยภาพทางการวิเคราะห์ - เมื่อปราศจากความสามารถทางการวิเคราะห์ที่เพียงพอนั้น องค์กรและธุรกิจต่าง ๆ จะต้องประสบความยากลำบากอย่างยิ่งในการคาดการณ์กระแสเงินสดสำหรับธุรกรรมต่าง ๆ ในการดำเนินงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อธุรกรรมเหล่านั้นมีมูลค่ารวมเป็นตัวเงินในหลักล้าน
- ขาดการทดสอบการใช้งานแบบ stress testing ที่ดีเพียงพอ มีกิจการจำนวนมากที่มองข้ามประเด็นด้านสภาพคล่องในการดำเนินการค้าสินทรัพย์และการระดมทุนไป ในขั้นตอนการทดสอบ stress testing ซึ่งทำให้กิจการเหล่านั้นขาดการเตรียมการที่เพียงพอสำหรับผลกระทบจากความผันผวนในตลาดที่เกิดขึ้น ส่งผลให้กิจการประสบปัญหาในการเปลี่ยนสถานะทางการค้าของตนหรือดึงดูดการระดมทุนใหม่เข้ามาเมื่อสภาพการณ์เปลี่ยนแปลงไป
- มีปัญหาในการดำเนินงานร่วมกับข้อกำหนดและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ - โดยเมื่อกิจการมีการติดพันอยู่กับประเด็นด้านกฎเกณฑ์ การปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับด้านการบริหารจัดการสภาพคล่องมากเกินไป อาจทำให้กิจการมองข้ามและสูญเสียโอกาสทางธุรกิจหรือผลกระทบทางบวกจากกฎเกณฑ์เหล่านั้นไปได้
แนวทางการรับมือกับความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ด้วยสามขั้นตอน
การจะสร้างระบบการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องที่ทรงประสิทธิภาพในองค์ของคุณนั้น เราขอแนะนำขั้นตอนการดำเนินงานที่สำคัญสามข้อดังต่อไปนี้:
- สร้างระบบการวิเคราะห์ที่เข้มแข็ง สำหรับงานด้านการคำนวณระดับความเสี่ยง สัดส่วนทุนที่เหมาะสม และการประเมินเหตุการณ์ต่าง ๆ ในตลาดและสภาพคล่อง
- คุณควรจำกัดผลของปัจจัยกระทบจากในตลาดให้น้อยที่สุด ควบคู่ไปกับการแสวงหาโอกาสในการทำกำไรส่วนต่างที่ดีอยู่เสมอ ซึ่งคุณสามารถทำได้ด้วยการวิเคราะห์ผลของการเปลี่ยนแปลงต้นทุนและสภาพคล่องอย่างทันท่วงที เพื่อการตอบสนองที่ฉับไวทันการณ์
- นอกจากนี้ คุณควรจะสามารถกำหนดแนวทางรับมือปัญหาต่าง ๆ ที่เหมาะสมด้านสภาพคล่องและความต้องการด้านทุนของกิจการของคุณ ด้วยการประเมินสภาพคล่องในตลาด และจำลองสถานการณ์ที่เป็นไปได้ต่าง ๆ สำหรับองค์กรของคุณ โดยใช้ประโยชน์จากชุดการวิเคราะห์สถานการณ์ ซึ่งพิจารณาปัจจัยอย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นพอร์ตโฟลิโอต่าง ๆ รวมถึงสถานะและสินทรัพย์ทางการเงิน ในหลากหลายช่วงเวลา
- บริหารจัดการข้อมูลของคุณ
- คุณควรต้องมีมุมมองที่ครบถ้วนเกี่ยวกับสภาพคล่องภายในองค์กรของคุณ ด้วยการนำข้อมูลตลาดที่ทันสมัยที่สุดมาใช้ในการพิจารณา รวมถึงข้อมูลพอร์ตโฟลิโอและการลงทุนต่าง ๆ ผลตอบแทนสินทรัพย์ทางการเงิน และภาพรวมสภาพคล่องในตลาด ซึ่งอัพเดตสถานการณ์หลายครั้งในแต่ละวัน
- ผสานการรับมือและบริหารจัดการความเสี่ยงเข้าในกระบวนการทำงานของคุณ
- คุณจะต้องสามารถประเมินมูลค่าของพอร์ตโฟลิโอและชุดสินทรัพย์ต่าง ๆ ที่มีความซับซ้อนสูง ด้วยการผสานการประเมินมูลค่าสินทรัพย์และการวิเคราะห์สถานการณ์จำลองไว้ด้วยกันภายในระบบเดียว และคุณยังต้องมีขีดความสามารถในการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากปัจจัยและเหตุการณ์ต่าง ๆ ในตลาดที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งจะส่งผลต่อสภาพคล่องได้อีกด้วย
- คุณจะต้องสามารถประเมินมูลค่าของพอร์ตโฟลิโอและชุดสินทรัพย์ต่าง ๆ ที่มีความซับซ้อนสูง ด้วยการผสานการประเมินมูลค่าสินทรัพย์และการวิเคราะห์สถานการณ์จำลองไว้ด้วยกันภายในระบบเดียว และคุณยังต้องมีขีดความสามารถในการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากปัจจัยและเหตุการณ์ต่าง ๆ ในตลาดที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งจะส่งผลต่อสภาพคล่องได้อีกด้วย
เครื่องมือการวิเคราะห์ที่มีความซับซ้อนสูงนั้น ช่วยเพิ่มความแม่นยำในการคาดการณ์และพยากรณ์ต่าง ๆ เนื่องจากเครื่องมือเหล่านั้นสามารถวิเคราะห์ตัวแปรและสถานการณ์ที่เป็นไปได้มากมาย นอกจากนี้ ยิ่งธนาคารมีขนาดใหญ่ขึ้นมากเท่าใด ผลิตภัณฑ์และรูปแบบการให้บริการของธนาคารก็ย่อมมีความหลากหลายมากขึ้นตามไปด้วย ส่งผลให้การบริหารจัดการความเสี่ยงมีความยากขึ้น
คุณ Andrej Hronec
Head of Assets and Liabilities, VUB